เมอร์เซเดส-เบนซ์ ประกาศแต่งตั้ง มร.มาร์ติน ชเวงค์ ขึ้นดำรงตำแหน่ง ประธานบริหารเมอร์เซเดส-เบนซ์ ประเทศไทยคนใหม่ ตั้งแต่ 1 มกราคม 2566

เมอร์เซเดส-เบนซ์ เอจี ประกาศแต่งตั้ง มร. มาร์ติน ชเวงค์ ขึ้นดำรงตำแหน่งประธานบริหาร

บริษัท เมอร์เซเดส-เบนซ์ (ประเทศไทย) จำกัด คนใหม่ ต่อจากมร. โรลันด์ โฟล์เกอร์ ซึ่งจะไปรับตำแหน่งใหม่ที่สำนักงานใหญ่ของเมอร์เซเดส-เบนซ์ในประเทศเยอรมนี ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2566

 

ภายใต้การบริหารงานที่เมอร์เซเดส-เบนซ์ ประเทศไทย มร. โรลันด์ โฟล์เกอร์มีบทบาทสำคัญในการสร้างการเติบโตอย่างยั่งยืนให้กับบริษัท ทั้งยังช่วยสร้างความแข็งแกร่งให้กับเครือข่ายผู้จำหน่ายรถยนต์

เมอร์เซเดส-เบนซ์ในประเทศไทย มร. โรลันด์ยังมีบทบาทสำคัญในการผลักดันนโยบายของแบรนด์ เมอร์เซเดส-เบนซ์ที่จะก้าวไปสู่การเป็นผู้ผลิตรถยนต์ไฟฟ้าอย่างเต็มตัวในอนาคต ทั้งการเตรียมความพร้อมในการเป็นฐานการผลิตรถยนต์พลังงานไฟฟ้าและแบตเตอรี่สำหรับยานยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทย ตลอดจนการผลักดันให้เกิดโครงการ Charge to Change ซึ่งทั้งหมดคือหัวใจสำคัญของความสำเร็จที่ก้าวนำเทรนด์ นอกจากนี้ การผลักดันนโยบายการทำงานด้านดิจิทัลยังส่งผลให้บริษัทบรรลุผลสำเร็จทางธุรกิจผ่านช่องทางออนไลน์ที่สามารถวัดผลได้ชัดเจนทั้งในเรื่องของยอดขายและการบริการลูกค้า

 

มร. มาร์ติน ชเวงค์ ซึ่งจะมารับตำแหน่งต่อจากมร. โรลันด์ โฟล์เกอร์ ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2566 เริ่มต้นการทำงานกับเมอร์เซเดส-เบนซ์ในปี 2535 เมื่อเขาเข้าร่วมทำงานใน ‘Mercedes-Benz-Nachwuchsgruppe’ ที่เมืองสตุตการ์ตในตำแหน่งวิศวกรผู้ควบคุมคุณภาพ หลังจากการทำงานในหลากหลายหน้าที่ทางด้านคุณภาพและการเงินในโรงงานผลิตหลายแห่งของเมอร์เซเดส-เบนซ์ใน เมืองรัสแตท ประเทศเยอรมนี มาร์ตินก้าวขึ้นเป็นหัวหน้าแผนกควบคุมการวางแผนการผลิตที่ตั้งขึ้นใหม่ในซินเดลฟิงเงน จากนั้น ตั้งแต่ปี 2549 ถึงปี 2558 มาร์ตินได้เข้าไปดูแลงานด้านต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับการเงินและการควบคุม ทั้งในแอฟริกาใต้ ออสเตรีย รวมถึงการทำงานในตำแหน่งประธานบริหารด้านการเงิน (CFO) ของ MBUSI ในสหรัฐอเมริกา

 

ในปี 2558 มาร์ตินย้ายไปเมืองปักกิ่ง ประเทศจีนเพื่อรับตำแหน่ง CFO ให้กับเมอร์เซเดส-เบนซ์ เซลส์ในประเทศจีน มาร์ตินมีส่วนสำคัญต่อความสำเร็จของแบรนด์เมอร์เซเดส-เบนซ์ รวมถึงความก้าวหน้าของโครงการสำคัญ ๆ และกระบวนการทางธุรกิจมากมายในประเทศจีน

 

ในวันที่ 1 พฤศจิกายน 2561 มาร์ตินเข้ารับตำแหน่งประธานบริหาร บริษัท เมอร์เซเดส-เบนซ์ (อินเดีย) จำกัด โดยเขามีบทบาทสำคัญในการเตรียมเมอร์เซเดส-เบนซ์ อินเดียเพื่อก้าวเข้าสู่การเปลี่ยนแปลงในอนาคตของอุตสาหกรรมยานยนต์ โดยเฉพาะการขับเคลื่อนและผลักดันการริเริ่มการทำงานเกี่ยวกับรถยนต์พลังงานไฟฟ้าและดิจิทัล เขายังมีส่วนสำคัญในการกำหนดกลยุทธ์การเติบโตของ

เมอร์เซเดส-เบนซ์ ซึ่งรวมถึงการเปิดตัวผลิตภัณฑ์เครื่องยนต์สันดาปหลักในตลาด การบุกเบิกการเดินทางด้วยรถยนต์ไฟฟ้าระดับลักชัวรีด้วยรถยนต์รุ่น EQC การยกระดับกลยุทธ์เครือข่ายการค้าปลีกด้วยรูปแบบการค้าปลีก MAR 2020 และการนำโมเดลธุรกิจ ‘การค้าปลีกแห่งอนาคต’ ไปใช้งานได้อย่างดีและประสบความสำเร็จในอินเดีย

Image preview

 

 

ข่าวประชาสัมพันธ์ 2 กันยายน 2565

ตลอดช่วงเวลาที่เขาทำงานอยู่ที่อินเดีย เมอร์เซเดส-เบนซ์ อินเดียประสบความสำเร็จในการบรรเทาวิกฤติโควิด-19 ทั้งยังเพิ่มความแข็งแกร่งมากขึ้นในฐานะองค์กรที่มีความยืดหยุ่น ภายใต้วิสัยทัศน์ ความร่วมมือเชิงกลยุทธ์ การมีส่วนร่วมอย่างลึกซึ้งกับผู้คน คู่ค้า และลูกค้าของเขา ซึ่งมีส่วนสำคัญต่อการสร้างความแข็งแกร่งให้กับองค์กรที่พร้อมรับมือกับอนาคต มีความโปร่งใส และมุ่งเน้นที่ผู้คนเป็นศูนย์กลาง

 

การได้รับการแต่งตั้งในตำแหน่งใหม่ที่เมอร์เซเดส-เบนซ์ ประเทศไทยของมร. มาร์ติน ชเวงค์ในวันนี้ บริษัทมีความมั่นใจว่า ด้วยประสบการณ์กว่า 3 ทศวรรษในอุตสาหกรรมยานยนต์ในหลากหลายทวีปของเขา จะช่วยขับเคลื่อนการเติบโตของธุรกิจและนำพาให้เมอร์เซเดส-เบนซ์ ประเทศไทย ก้าวสู่ความสำเร็จใหม่ในอนาคตที่น่าตื่นเต้นของเทรนด์การขับเคลื่อนใหม่ ๆ ที่กำลังมาในโลกยานยนต์

 

# # #

 

 

เกี่ยวกับ เมอร์เซเดส-เบนซ์ เอจี

เมอร์เซเดส-เบนซ์ เอจี เป็นผู้รับผิดชอบธุรกิจทั่วโลกของรถยนต์เมอร์เซเดส-เบนซ์ และรถตู้เมอร์เซเดส-เบนซ์ ด้วยจำนวนพนักงานกว่า 172,000 คนทั่วโลก โดยมี โอล่า คัลเลนเนียส เป็นประธานคณะกรรมการบริหาร บริษัทมุ่งเน้นการพัฒนา ผลิต และจำหน่ายรถยนต์ รถตู้ และบริการอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับรถยนต์ นอกจากนั้น ยังมีเจตนารมณ์ในการเป็นผู้นำของโลกในด้านยานยนต์ไฟฟ้าและซอฟต์แวร์รถยนต์ กลุ่มผลิตภัณฑ์ของบริษัทประกอบด้วยแบรนด์เมอร์เซเดส-เบนซ์ และแบรนด์ย่อย เมอร์เซเดส-เอเอ็มจี เมอร์เซเดส-มายบัค เมอร์เซเดส-อีคิว จี-คลาส และแบรนด์สมาร์ท โดยแบรนด์เมอร์เซเดส มีนำเสนอการเข้าถึงบริการด้านดิจิทัลจากเมอร์เซเดส-เบนซ์ ทั้งนี้ เมอร์เซเดส-เบนซ์ เอจี เป็นหนึ่งในผู้ผลิตรถยนต์โดยสารระดับลักชัวรีรายใหญ่ที่สุดของโลก ในปี 2564 บริษัทฯ จำหน่ายรถยนต์นั่งส่วนบุคคลราว 1.9 ล้านคัน และรถตู้เกือบ 386,200 คัน เมอร์เซเดส-เบนซ์ เอจี ขยายเครือข่ายการผลิตใน 2 กลุ่มธุรกิจอย่างต่อเนื่องทั่วโลก โดยมีฐานการผลิตราว 35 แห่งใน 4 ทวีป ควบคู่ไปกับแนวทางการพัฒนาที่ตอบสนองความต้องการในด้านยานยนต์ไฟฟ้า ขณะเดียวกัน บริษัทได้พัฒนาเครือข่ายการผลิตแบตเตอรี่ของตัวเองทั่วโลกใน 3 ทวีป การดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืนล้วนมีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งทั้งต่อกลยุทธ์ของเมอร์เซเดส-เบนซ์และต่อบริษัท สำหรับเมอร์เซเดส-เบนซ์ เอจี ความยั่งยืนหมายถึงการสร้างคุณค่าให้แก่ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกฝ่ายในระยะยาว ทั้งลูกค้า พนักงาน นักลงทุน พันธมิตรทางธุรกิจ และสังคมโดยรวม โดยอาศัยพื้นฐานของกลยุทธ์การดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืนของกลุ่ม เมอร์เซเดส-เบนซ์ กรุ๊ป ซึ่งมุ่งรับผิดชอบต่อผลกระทบในด้านเศรษฐกิจ สภาพแวดล้อม และสังคม จากกิจกรรมทางธุรกิจต่าง ๆ ของบริษัท และให้ความสำคัญต่อห่วงโซ่คุณค่าโดยรวม